วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทความ 3


       สวัสดีแฟนๆ บล็อคทุกคน เจ้าของบล็อคคนเดิมเพิ่มเติมคือน้ำหนักขึ้น ทักทายกันพอประมาณดีกว่า
เนอะ เพราะในวันนี้เจ้าของบล็อค จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนักรบของอาทิตย์อุทัย หรือที่พวกเรารู้จักในชื่อ "ซามูไร"   
       ซะมุไร (ญี่ปุ่น  :   ,  ภาษาไทยนิยมทับศัพท์ว่า "ซามูไร" ) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซะมุไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซะมุไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง


         กำเนิดของซามูไรนั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยเฮอัง (Heian) ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีการระดมนักรบ ผู้มีฝีมือจำนวนมากเพื่อปราบกบฏ ในลักษณะของนักรบรับจ้าง แต่ต่อมาเมื่อกบฏถูกปราบจนราบคาบแล้ว นักรบเหล่านี้ก็ถูกจ้างโดยตระกูลที่มีอำนาจทางการเมือง เพื่อให้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเก็บภาษีจากประชาชนและฝึกกองกำลังนักรบขึ้นมา ยุคนั้นตระกูลใหญ่สองตระกูลที่แย่งชิงอำนาจการปกครองบ้านเมืองกัน คือ ตระกูลมินาโมโตะ และตระกูลไทร่า ซามูไรมีความสำคัญมากในช่วงนั้น เพราะเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน จากนักรบ
โนเนมก็กลายเป็นคนมีศักดิ์ศรีมีวรรณะสูงขึ้นมาเหนือประชาชนคนธรรมดา


            ความหมายหนึ่งของซามูไร คือ คนรับใช้ ซึ่งบ่งบอกถึงการมีนายเหนือหัว หรือไดเมียว นั่นเอง ซามูไรที่ไม่มีนายเรียกว่า โรนิน (浪人 ซึ่งตามศัพท์แล้วแปลว่า คนที่ไม่มีหลักแหล่งเป็นที่เป็นทาง) ซึ่งการไร้เจ้านายนั้นเป็นสภาพที่ไร้ศักดิ์ศรียิ่งนักสำหรับพวกเขา ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับซามูไรเมื่อปี พ.ศ.2244 สมัยเอโดะ มีเรื่องราวของโรนิน 47 คน หรือมักจะเรียกสั้นๆว่า 47 โรนิน ผู้จงรักภักดีต่อไดเมียวอาซาโนะ นางาโนริ ไดเมียวผู้นี้ถูกบังคับให้ทำฮาราคีรี (เรียกอีกอย่างว่า เซปปุกกุ 腹切) เนื่องจากใช้ดาบทำร้ายข้าหลวงชื่อ คิระ โยชินากะ ผู้ทรงอิทธิพลในปราสาทของโชกุน ไม่เพียงเท่านั้น ตามกฎใครก็ตามที่ชักอาวุธในปราสาทโชกุนต้องถูกประหารชีวิตรวมทั้งคนในครอบครัวและถูกยึดทรัพย์สมบัติทั้งหมดด้วย เมื่อสูญเสียเจ้านายไป ซามูไรจำนวนมากจึงกลายเป็นโรนินผู้ไร้ที่พำนักอาศัย จากทั้งหมดนั้นมีโรนินจำนวน 47 คนที่ต้องการแก้แค้น โดยตั้งใจว่าจะต้องเอาหัวของคิระ โยชินากะ ไปเซ่นไหว้หลุมศพของเจ้านายพวกตนให้ได้ จึงร่วมกันวางแผนล้างแค้น แต่การลงมือนั้นไม่ใช่ของง่าย เพราะคิระเองไม่ใช่คนธรรมดาที่ใครอยากฆ่าก็ไปฆ่าได้ การวางแผนเพื่อเตรียมการนั้นใช้เวลานานกว่า 2 ปี ก่อนที่ทั้งหมดจะลงมือ เรื่องราวของ 47 โรนิน นิยมนำไปเล่นเป็นละครคาบูกิในญี่ปุ่นรวมทั้งภาพยนตร์หลายครั้ง ล่าสุด ทางฮอลลีวูดได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ในชื่อว่า 47 โรนิน มหาศึกซามูไร ที่ได้ดาราอย่าง 
คีอานู รีฟส์ มาแสดงนำ



มีถึง 3 รูปแบบ แบ่งประเภทตามลักษณะของตัวคันจิ เลขหนึ่ง เลขสิบ แล้วก็ เลขสาม คือตัดเป็นรูปตัวอักษรคันจินั่นเอง

一                    十                     三
いち               じゅう             さん
หนึ่ง                   สิบ                      สาม
         เซ็ปปุกุ (ญี่ปุ่น : 切腹 seppuku ) หรือ ฮาราคีรี (ญี่ปุ่น : 腹切り harakiri ฮะระกิริ) เป็นการฆ่าตัวตาย โดยการคว้านท้อง ในยุคซามูไร ของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้มีดสั้นแทงที่หน้าท้องใต้เอวขวา แล้วกรีดมาทางซ้ายแล้ว ดึงมีดขึ้นข้างบน ซึ่งเป็นการเปิดเยื่อบุช่องท้องแล้วตัดลำไส้ให้ขาด หลังจากนั้นซามูไรอีกคนหนึ่งจะใช้ดาบซามูไรตัดศรีษะจนขาด การตายด้วยวิธีนี้ เชื่อว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ทำเซ็ปปุกุทำตามหลักศาสนาชินโตที่จารึกไว้ในคัมภีร์โคะจิคิ เพราะแสดงความกล้าหาญและพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการบังคับจิตใจของตนเอง การคว้านท้องถูกนำมาใช้โดยสมัครใจที่จะตายกับซามูไรที่มีเกียรติแทนที่จะตกอยู่ในมือของศัตรูของพวกเขา (และน่าจะประสบทรมาน), เป็นรูปแบบของโทษประหารชีวิตสำหรับซามูไรที่มีการกระทำผิดร้ายแรงหรือดำเนินการ เหตุผลอื่น ๆ ที่ได้นำความอัปยศแก่พวกเขา การฆ่าตัวตายโดยการจำยอมจึงถือเป็นพิธีซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมซับซ้อนมากขึ้นและการดำเนินการในฐานะที่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจในการต้องการในการรักษาเกียรติของพวกเขาจึงควรมีผู้คนมาชมขณะทำเซ็ปปุกุด้วย ในญี่ปุ่น คำว่า "ฮาราคีรี" ถือเป็นคำหยาบและไม่เคารพต่อผู้กระทำเซ็ปปุกุ และการเขียนตัวอักษรคันจิของสองคำนี้เขียนเหมือนกันโดยสลับตัวอักษรหน้าหลัง
           จริงๆแล้วในการประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ จะมีเพชรฆาตรอตัดหัวอยู่ด้านหลังเพื่อไม่ให้ทรมาน หลายคนบอกว่า มันเป็นเรื่องยากมากที่จะดึงมีดที่อยู่ในท้องขึ้นๆลงๆ เพราะมนุษย์เราคงทนพิษบาดแผลไม่ไหว ถ้าไม่ตายก่อนก็คงไม่มีกําลังเหลือพอที่จะทําเรื่องที่เหนือมนุษย์ ทําได้หรือไม่ได้...ความจริงเป็นอย่างไรไม่อาจทราบได้ แต่ถ้าเป็นจริง ก็ต้องทึ่งกับความเป็นเลือดซามุไรของคนญี่ปุ่นในอดีตจริงๆ  



          “ซาคาโมโตะ เรียวมะ” บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์คนหนึ่งของญี่ปุ่นยุคปฎิรูปเมจิ ความโดดเด่นของเรียวมะต่างไปจากมหาบุรุษคนอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ที่สร้างผลงานข้ามยุคสมัยจากการรบ การทูต หรือการปกครอง เพราะ “ซาคาโมโตะ เรียวมะ” เป็นเพียงซามูไรบ้านนอกธรรมดาคนหนึ่ง ไม่มีสังกัดหรือเจ้านาย ไม่มีกองทัพหรือตระกูลใหญ่หนุนหลัง แต่เขากลับเป็นคนเชื่อมประสานกองกำลังหลายฝ่ายที่ขัดแย้งกันอย่างหนักให้กลายเป็นพันธมิตร และจุดชนวนการปฏิรูปญี่ปุ่นเข้ามาสู่สมัยใหม่อันก้าวหน้า มีอารยธรรมและอิทธิพลทัดเทียมกับชาติตะวันตกได้เพียงลำพัง เรียวมะเองก็เห็นว่ารัฐบาลกลางโตคุงาวะเป็น “เนื้อร้าย” ของประเทศที่ปิดกั้นความเจริญของญี่ปุ่น เมื่อซัตสึมะซึ่งเปรียบเสมือน “ผู้มีอิทธิพลคุ้มครอง” กลุ่มของเรียวมะมีปัญหา เขาจึงเสนอทางแก้ปัญหาชนิดที่ทุกคนฟังแล้วต้องอึ้ง ทางออกของ
เรียวมะก็คือ ซัตสึมะจะต้องผนึกกำลังกับคู่แค้นอย่างโจชู เพื่อ “สร้างขั้วอำนาจใหม่” ที่เหนือกว่ารัฐบาลกลาง และทำศึกเพื่อล้มรัฐบาลลงไปทั้งซัตสึมะและโจชูต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน แต่เรียวมะในฐานะ
“คนกลาง” ที่เคยมีความสัมพันธ์อันดีจับโจชู และทำงานให้แคว้นซัตสึมะ ก็มีบทบาทสำคัญในการเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายไว้เนื้อเชื่อใจกัน เมื่อผนวกกับการบีบคั้นของรัฐบาลกลาง ทำให้พันธมิตรซัตสึมะ-โจชู อันเข้มแข็งถือกำเนิดขึ้นในปี 1866 โดยมีเป้าหมายเพื่อ “โค่นล้มรัฐบาลโตคุงาวะ ถวายคืนพระราชอำนาจ”
ขั้วพันธมิตรซัตสึมะ-โจชู สามารถเอาชนะกองทัพของรัฐบาลกลางอันเก่าแก่และเทอะทะได้ในปีเดียวกัน ทำให้อิทธิพลของรัฐบาลกลางยิ่งอ่อนแอลงไปอีก น่าเสียดายว่า “เรียวมะ” ผู้สร้างความเป็นไปได้จากความเป็นไปไม่ได้ ไม่ได้เห็นความสำเร็จที่เขาแผ้วถางเส้นทางไว้ เพราะในปีถัดมา 1867 เรียวมะที่ “เจิดจรัสเกินไป” จนเป็นภัยคุกคามต่อขั้วอำนาจเก่าหลายๆ ฝ่าย ถูกลอบสังหารอย่างลึกลับในเกียวโต โดยยังไม่สามารถหาตัวผู้สังหารที่แท้จริงได้จนทุกวันนี้



                    นานมาแล้วก่อนที่จะเกิดชนชั้นซามูไร ชาวญี่ปุ่นถูกฝึกให้ใช้ดาบและหอกในการป้องกันตัว  
ผู้หญิงถูกฝึกฝนให้ใช้ naginata (ง้าวยาว) kaiken (ดาบสั้น) และศิลปะการป้องกันตัวของ tantojutsu ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวจะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้หญิงสามารถสู้และป้องกันเมืองได้หากขาดผู้ชาย ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งต่อมาได้รู้จักกันในนาม จักรพรรดินี Jingu (ค.ศ.169-269) เธอได้ใช้ทักษะดังกล่าวกระตุ้นให้ญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และเธอยังได้รับการกล่าวขานเป็นตำนานว่าเธอคือ Onna-bugeisha คนแรกที่บุกโจมตีเกาหลีในปี ค.ศ.200 หลังจากที่องค์พระจักรพรรดิ Chūai จักรพรรดิองค์ที่ 14 ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นสามีของเธอได้ถูกสังหารในการต่อสู้ ตามตำนานเล่าว่าเธอสามารถนำทัพญี่ปุ่นไปพิชิตเกาหลีได้โดยไม่มีการหลั่งเลือดแม้แต่หยดเดียว แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ในเรื่องการมีชีวิตอยู่ของเธอ ความสำเร็จของเธอในครั้งนั้นได้กลายเป็นตัวอย่างของ onna bugeisha รุ่นหลังสืบต่อมา ภายหลังจากปีที่ Jingu เสียชีวิต เธอสามารถทำให้ญี่ปุ่นนั้นวางโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมได้สำเร็จ และในปี 1881 จักรพรรดินี Jingu ได้กลายเป้นผู้หญิงคนแรกที่มีภาพขึ้นอยู่ในธนบัตรญี่ปุ่น ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการป้องกันการพิมพ์แบงค์ปลอม



        นครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองใหญ่ทางภาคใต้และถือเป็นหัวเมืองเอกที่มีความสำคัญมาแต่สมัยโบราณ เจ้าเมืองมียศเป็นถึงเจ้าพระยา แต่ทราบหรือไม่ว่าครั้งหนึ่ง นครศรีธรรมราชเคยมีเจ้านครเป็นนักรบซามูไรจากญี่ปุ่น ซึ่งนามของซามูไร ผู้ที่โชคชะตาดลบันดาลให้เขาได้กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินอโยธยา ก็คือ ยามาดะ นากามาสะ ยามาดา นากามาสะเกิดที่เมืองโอวาริ ซึ่งปัจจุบันอยู๋ใกล้ ๆ กับ
นาโงย่า ยามาดะได้หนีออกจากบ้านและติดตามเรือสินค้าของพ่อค้าจากแคว้นซูรุกะที่เดินทางไปค้าขายยังไต้หวัน หลังเสร็จสิ้นการค้าแล้ว ยามาดะได้ติดตามเรือสินค้าลำดังกล่าวเดินทางมาเมืองไทย ขณะอยู่ในเมืองไทยยามาดะได้ประกอบอาชีพค้าขายจนร่ำรวยและต่อมาได้สมัครเข้าเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้เลือนตำแหน่งจนเป็นถึงออกญาเสนาภิมุขเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งนั้น ยามาดะยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นด้วย ยามาดะอยู่ในยุคที่มีการเเก่งแย่งอำนาจโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ยามาดะได้อยู่ฝ่ายพระเชษฐาธิราช ช่วยวางแผนและกำจัดฝ่ายตรงข้ามจนได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนคร แต่ถูกพระเจ้าปราสาททอง สั่งลับให้ออกพระมะริดน้องชายเจ้านครเก่า วางยาพิษสังหารเจ้านครชาวญี่ปุ่นผู้นี้เสีย ในที่สุดยามาดะหรือออกญาเสนาภิมุขก็เสียชีวิตลงด้วยยาพิษ จากนั้นออกพระมะริดจึงนำกำลังเข้ายึดเมืองนคร ทว่า ออกขุนเสนาภิมุข (โออิน) บุตรชายของยามาดะกลับสังหารออกพระมะริดและนำนักรบซามูไรเข้ายึดเมืองนครไว้ จากนั้นได้วางแผนยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายพระเจ้าปราสาททอง เมื่อทรงทราบเรื่องจึงให้กวาดล้างชาวญี่ปุ่นในกรุง ทำให้พวกทหารญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธญารวมกำลังกันตีฝ่าวงล้อมและไปสมทบกับ โออินที่นครศรีธรรมราชทางฝ่าย

โออิน ได้ปกครองเมืองนครอย่างกดขี่ ปล้นชิงผู้คนตามใจชอบ ทำให้ชาวเมืองก่อจลาจล นอกจากนี้ยังเกิดการขัดแย้งกันเองในหมู่ชาวญี่ปุ่น ทำให้ต้องเลิกล้มแผนตีกรุงศรีอยุธยา และในที่สุด เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ในเมืองนคร เริ่มเป็นอันตรายต่อพวกตน โออินจึงตัดสินใจนำชาวญี่ปุ่นฝ่ายเดียวกับตน หลบหนีไปยังกัมพูชา โดยได้อาสาเป็นแม่ทัพให้กับกษัตริย์กัมพูชา และได้เสียชีวิตในการรบกับกองทัพล้านช้างในเวลาต่อมา

ที่มา :

       เป็นไงเป็นไง อ่านแล้วรู้สึกยังไงกันบ้าง ครบรสครบเครื่องป่ะละ เจ้าของบล็อคชอบมากๆเลยค่ะ เพราะชอบความเป็นญี่ปุ่นอยู่เเล้ว พอมาเห็นนักรบที่ถือเอาศักดิ์ศรีเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าชีวิตตัวเองนี่ถือว่าเท่ห์มากๆเลยค่ะ บทความก็เขียนพอให้หายคิดถึงกันไปก่อนนะ แล้วเจอกันใหม่เมื่อชาติต้องการ :)


ข้อมูลอ้างอิง


1) http://samuir.blogspot.com/ : ประวัติซามูไร
2) http://www.thairath.co.th/content/390803 : ซามูไร
5) http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=185624&chapter=9 : ฮาราคีรีเซ็ปปุกุ



เรียบเรียงโดย : สุชานันท์ พวงมาลี

5 ความคิดเห็น:

  1. เป็นซามูไรเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างยิ่งเลยค่ะ อ่านจากบล็อกแล้วเพลินมากเลย ทำให้เห็นหลายๆด้านของซามูไรที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน

    ตอบลบ
  2. มีประโยชน์มากค่ะ อ่านเล่นๆเพลินดี พึ่งรู้เลยนะเนี่ยว่าเคยมีคนญี่ปุ่นเป็นเจ้าเมืองในไทยเราด้วย แถมผู้หญิงณี่ปุ่นในสมัยนั้นยังฝึกดาบสั้นกับหอกด้วยและยังเป็นประเทศที่ยึดในเกียรติและศักดิ์ศรีมากด้วย

    ตอบลบ
  3. ชอบซามูไรมาก ว่างๆ ก็ทำเรื่องนินจาด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  4. มีความรู้เยอะมากค่ะ คนเป็นซามูไรนี่น่านับถือจริงๆ ทั้งมีเกียรติและศักดิ์ศรี ชอบมากๆคะ

    ตอบลบ