วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทความที่ 1



   ในปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การทำสีผมเป็นแฟชั่นยอดนิยมของผู้คนในยุคนี้ โดยหากลองสังเกตรอบๆตัว จะพบว่ามีผู้คนมากมายที่ทำสีผม และไม่ได้จำกัดแค่อายุในช่วงใดช่วงหนึ่งเท่านั้น เหตุผลในการทำสีผมของผู้คนมีแตกต่างกันไป บางคนต้องย้อมผมเพราะมันเป็นงาน ซึ่งงานของเขาเหล่านั้นต้องการความทันสมัยอยู่ตลอด บางคนทำไปตามแฟชั่นคนอื่นทำได้ ฉันก็ทำได้ โดยที่อาจไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมของใบหน้า บางคนย้อมผมเพราะต้องการปกปิดผมขาวที่เกิดขึ้นตามวัย โดยในยุคสมัยนี้สีผมแฟชั่นไม่ได้มีแค่สีทอง ม่วง แดง เหมือนสมัยก่อน แต่มีความหลากหลายของสีผมเพิ่มมากขึ้น โดยอิทธิพลส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากนักร้องเกาหลี ที่มักจะย้อมผมสีแปลกตา เช่น สีรุ้ง สีส้ม สีเทาควันบุหรี่ สีชมพู สีฟ้า เป็นต้น

ขอบคุณที่มาของภาพ :  http://www.springnews.co.th/wp-content/uploads/2014/11/------------------118.jpg

      แฟชั่นสุดเท่ห์เหล่านี้ ที่เมื่อคุณทำก็จะกลายเป็นเหมือนนักร้องศิลปินที่คุณชื่นชอบได้ในพริบตา แต่เดี๋ยวก่อน...สำนวนที่ว่า ได้อย่างเสียอย่าง” คงสามารถใช้ได้กับแฟชั่นประเภทนี้ เพราะการย้อมผมให้ได้สีดั่งใจนั่น ต้องผ่านการหมัก การกัดสีผมซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการนำสารเคมีชโลมลงบนหนังศีรษะและเส้นผมโดยตรง ซึ่งมีคำกล่าวของ นายแพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ แพทย์สาขาอายุรกรรม แผนกประกันสังคม รพ.กล้วยน้ำไท 1 กล่าวว่า “การทำสีผมบ่อย ๆ นั้นอาจทำให้เส้นผมที่ผ่านสารเคมีนั้นไม่แข็งแรงหลุดร่วงได้ง่าย และยังทำให้เกิดอันตรายต่อใบหน้าหรือระคายเคืองต่อหนังศีรษะส่งผลให้ผิวหนังเป็นแผลได้ รวมทั้งก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้โรคหนังศีรษะแห้งและที่สำคัญอาจทำให้เป็นโรคมะเร็งหนังศีรษะได้”

ผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดแบ่งได้ดังนี้

1. ยาย้อมผมชนิดชั่วคราว
       มีส่วนประกอบของสีที่รับรองแล้ว มีขนาดโมเลกุลใหญ่ สีนี้เคลือบบนชั้นนอกของเส้นผม มักจะล้างออกหลังจากสระผมด้วยแชมพูครั้งแรก หรือครั้งที่ 2 ผลิตภัณฑ์ทางการค้า ได้แก่
            -คัลเลอร์ รินส์ (Color rinse) มีหลักการใช้โดยสระผม แล้วซับน้ำให้แห้ง ทาคัลเลอร์รินส์ลงบนเส้นผม อาจเริ่มจากผมบริเวณท้ายทอย หวี หรือแปรงให้ทั่ว ไม่ต้องล้างออกหรืออาจทิ้งไว้ประมาณ 2 - 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ซึ่งทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามวิธีใช้ของแต่ละตำรับ
             -ดินสอทาสีผม (Hair Crayons) ใช้สำหรับปกปิดเส้นผมที่เริ่มหงอก หรือ ตกแต่งผมที่งอกออกมาใหม่ หลังการย้อม วิธีการใช้ทำโดยให้ปลายของแท่งดินสอนี้เปียกน้ำแล้วทาตลอดบนเส้นผมหงอกเริ่ม ตั้งแต่หนังศีรษะ เนื่องจากดินสอทาสีผมประกอบด้วยไขมัน ดังนั้นการย้อมผมครั้งต่อไปต้องแน่ใจว่าล้างเอาไขมันออกจากเส้นผมหมดสิ้น
-สีพ่นสำหรับผม (Color Sprays) มักบรรจุในกระป๋องฉีดพ่น มีสีเงิน สีทอง และสีอื่นๆ ไว้สำหรับใช้ในกรณีพิเศษ
ความเป็นพิษ
      ปลอดภัยในการใช้เพราะสีที่ใช้มักเป็นสีที่รับรอง (Certified colour) และใช้เพียงชั่วคราวแล้วล้างออก
ขอบคุณที่มาของภาพ http://upic.me/i/pd/1380120_672780659399339_309027043_n.jpg
2. ยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวร
       มีส่วนประกอบเป็นสี ซึ่งมีขนาดโมเลกุลเล็กสามารถซึมเข้าไปถึงชั้นกลางเส้นผมได้ สีจะคงทนได้นาน 3 - 5 อาทิตย์ ขณะนี้กำลังเริ่มจะเป็นที่นิยมได้แก่ แชมพูย้อมสีผม โลชั่น และโฟมย้อมสีผม
ความเป็นพิษ
      เนื่องจากสีบางชนิดที่ใช้เป็นสีเช่นเดียวกับที่ใช้ในยาย้อมผมชนิดถาวร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการแพ้หรือ ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้งเช่นเดียวกับยาย้อมผมชนิดถาวร และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ และคำเตือนอย่างเคร่งครัด
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://thainn.com/variety//uploads/picture01/4811.jpg 
3. ยาย้อมผมชนิดถาวรติดทนบนเส้นผมอย่างถาวร
        ทนทานต่อการสระด้วยแชมพู การแปรงและอื่นๆ
 3.1 ยาเคลือบสีผม (Coating Tints) สีจะสะสมบนชั้นนอกของเส้นผมเท่านั้น แบ่งออกเป็น
    3.1.1 สมุนไพรย้อมผม (Vegetable Dyes) สีจะเคลือบติดบนเส้นผมคงทน โดยมีผลต่อชั้นนอกสุดของเส้น  ผม แต่ไม่เปลี่ยนโครงสร้างของเส้นผม ได้แก่ ยาย้อมผมที่มีส่วนผสมของใบจากต้นเฮนนาให้สีทอง และสีแดง
    3.1.2 เกลือโลหะย้อมผม (Metallic Dyes) ได้แก่ ยาเคลือบผมที่ส่วนประกอบของตะกั่วอะซีเตต เชื่อว่าเกิดปฏิกิริยาระหว่างตะกั่ว อะซีเตตและซัลเฟอร์ในเคราตินทำให้เกิดตะกั่วซัลไฟด์เคลือบติดบนเส้นผม ต้องทาซ้ำ เพื่อให้ได้สีตามต้องการ
    3.1.3 สีผสม (Compounds dyes) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรย้อมผม และเกลือโลหะย้อมผม
 3.2 ยาย้อมผมชนิดซึมเข้าในเส้นผม ประกอบด้วยน้ำยา 2 ขวด
ขวดที่ 1 อาจเป็นของเหลวหรือครีม มีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ สีออกซิเดชั่น หรือที่เรียกว่าสีพารา อยู่ในสภาวะด่าง ซึ่งโดยมากใช้แอมโมเนียความเป็นกรด - ด่าง ประมาณ 8-11 ด่างจะช่วยในส่วนชั้นนอกของเส้นผมบวม และพองขึ้นมาก ทำให้สีซึมเข้าไปอยู่ในเส้นผม แต่หากเป็นด่างมากจะเป็นอันตรายต่อเส้นผม เพราะด่างสามารถละลายส่วนชั้นนอกของเส้นผมบางส่วน ทำให้เส้นผมแลดูหยาบกระด้าง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผึว เพื่อช่วยสีย้อมผมซึมเข้าไปในเส้นผมได้ดี และอาจประกอบด้วยสารที่ทำให้ข้นเพื่อป้องกันสีย้อมผมไหลออกจากเส้นผม เป็นต้น
ความเป็นพิษ
      พาราฟีนีลีนไดอะมีน และ พาราโทลูไดอะมีน เป็นตัวยาสำคัญของยาย้อมผมชนิดถาวรซึ่งนิยมใช้มากในประเทศไทย และเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และผิวหนังอักเสบ พารฟีนีไดอะมีน ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ได้ร้อยละ 4 และเป็นผู้เกิดอาการแพ้รุนแรงร้อยละ 1 โดยเริ่มแรก ผิวหนังมีผื่นแดง มีอาการบวมรอบนัยน์ตา ต่อมาผื่นแดงจะกลายเป็นตุ่มใส และมีน้ำเหลือง มีอาการคันมาก บริเวณที่เกิดเป็นตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า และ ต้นคอ ถ้าแพ้มากทำให้หายใจลำบาก นอกจากนั้นทำให้เกิดจ้ำเขียว เป็นผื่น มีผู้ทดลองพบว่า สารพวกนี้ทำให้เกิดเนื้องอกในสัตว์ทดลองได้
ขอบคุณที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/data/b/billionhair/picture/1358584244.jpg
4.เกลือโลหะย้อมผม (Metallic hair dyes) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hair restorers
      ผลิตภัณฑ์ส่วนมากเป็นครีมหรือโลชั่นแต่งผม มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ ตะกั่วอะซิเตด (มีบางผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซิลเวอร์ไนเตรต) มีวิธีใช้โดยทาทุกวันจนได้สีตามต้องการ สีจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับผมสีเทา โดยปกติจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง น้ำตาล และ ดำ ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้มข้นของตะกั่วอะซิเตด จำนวนครั้งที่ทา และระยะเวลา สีที่เกิดขึ้นเนื่องจาก มีการสะสมเกลือโลหะบนส่วนนอกของเส้นผมและทำปฏิกิริยากับแสงแดด และ อากาศ ทำให้เกิดออกไซด์ หรือ ซัลไฟด์ของโลหะซึ่งไม่ละลายน้ำ สีที่เคลือบเส้นผมมักจะติดขอบหมวก ปลอกหมอน ที่นอน การทาซ้ำๆ ที่เส้นผมที่งอกใหม่บ่อยๆ จะมองไม่เห็นความแตกต่างของสีที่เกิดทั้งบริเวณใกล้หนังศีรษะและตลอดความยาวของเส้นผม ทั้งนี้เพราะสีค่อยๆเกิด
ความเป็นพิษ
      เกลือโลหะที่ย้อมผมไม่เป็นอันตรายโดยตรงต่อผิวหนัง แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะมีการสะสมของของโลหะในร่างกาย ทำให้เกิดพิษได้ ดังนั้นต้องระมัดระวังในการใช้ดังนี้
1.เก็บให้พ้นมือเด็ก
2.ห้ามใช้กับผิวหนังที่ถลอก
3.ห้ามใช้กับยาย้อมหนวด
4.อย่าให้เข้าตา หากเข้าตาให้ล้างตาอย่างทั่วถึง
5.ล้างมือให้สะอาดทั่วถึงหลังการใช้ทุกครั้ง
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://pics.drugstore.com/prodimg/538252/450.jpg 
5.สมุนไพรย้อมผม (Vegetable hair dyes)
      เฮนนา เป็นพืชที่ใช้ย้อมผมตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยผงของใบและกิ่งแห้ง ซึ่งเก็บจากต้นก่อนที่จะออกดอก เนื่องจากมี 2-ไฮดรอกซี-1,4-แนพธาควิโนน (2-hydroxy-1,4-naphthaquinone) หรือที่เรียกว่า ลอร์โซน (Lowsone) ซึ่งละลายในน้ำร้อน
      วิธีการย้อม ใช้ผงเฮนนาผสมน้ำเล็กน้อยเป็นลักษณะแป้งเปียกและทำให้เป็นกรดเล็กน้อยพอกบนเส้นผมที่เปียก ห่อเส้นผมไว้ด้วยผ้าเช็ดตัวและทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที หลังจากนั้นสระด้วยแชมพูจากนั้นล้างออก ปล่อยให้แห้ง โดยระยะเวลาที่ใช้ขึ้นกับสีที่ต้องการ ความหยาบละเอียดของเส้นผม และการออกฤทธิ์ของเฮนนา ความเป็นกรดของสารพอก และอุณหภูมิขณะห่อเส้นผม สีเคลือบจะติดเส้นผมโดยมีผลต่อชั้นนอก (Cuticle) ของเส้นผม ได้สีแดงเรื่อปนน้ำตาล การย้อมซ้ำๆ ทำให้ได้ผลลดลง และทำให้ผมด้าน
      เฮนนาอาจย้อมติดปลายนิ้ว หรือ เล็บ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง การย้อมด้วยผงเฮนนามีความยุ่งยากในการใช้
ความเป็นพิษ
      เฮนนาไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการแพ้ ไม่มีความเป็นพิษที่ผิวหนัง และระบบภายในร่างกาย เฮนนาใช้สำหรับย้อมผมเท่านั้น ห้ามใช้กับหนังศีรษะที่เป็นแผล ห้ามใช้ย้อมขนตา ขนคิ้ว หรือ รอบดวงตา
ขอบคุณที่มาของภาพ :  http://static.weloveshopping.com/shop/client/000049/lerdpanich/HN01d.jpg

การทดสอบการแพ้

     การย้อมผมด้วยยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวร และยาย้อมผมชนิดซึมเข้าในเส้นผม ต้องทำการทดสอบการแพ้ก่อนย้อม เนื่อง จากยาย้อมผมทำให้เกิดอาการแพ้ได้มากและการแพ้นี้ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ บางครั้งคนซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่างมานานเป็นปีแล้วจึงเกิดอาการแพ้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำวิธี
การทดสอบการแพ้ที่ผิวหนังก่อนการย้อมดังนี้
1. ทดสอบการแพ้ทุกครั้งก่อนย้อมผม
2. แบ่งยาย้อมที่จะใช้ย้อม สำหรับนำมาทดสอบ
3. ยาย้อมผมที่จะใช้ทดสอบต้องผสม และเตรียมโดยวิธีเดียวกับที่จะใช้ย้อมจริง ตามคำแนะนำวิธีใช้
4. ใช้แปรงขนอูฐ หรือ สำลีพันปลายไม้ จุ่มยาย้อมที่เตรียมไว้ทาบริเวณผิวหนังหลังใบหู และบริเวณหนังศีรษะเป็นแถบกว้างไม่น้อยกว่า 1/4 นิ้ว และ ยาวไม่น้อยกว่าครึ่งนิ้ว
5. ทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิด และไม่รบกวนบริเวณนั้นโดยการหวี ใส่หมวก/ใส่แว่นตา หรือสิ่งอื่นเป็นเวลานาน 24-48 ชั่วโมง หลังจากทา
6. ถ้ามีรอยสีแดง รอยไหม้ คัน ปริ (small blisters) หรือ พุพอง เกิดขึ้นที่บนบริเวณนั้น ภายใน 24 ชั่วโมง แสดงว่ามีอาการแพ้ไม่ควรย้อมผมด้วยยาย้อมผมนั้น

ซึ่งอันตรายของสารเคมีในน้ำยาย้อมผมมี่ดังนี้


1.สารไฮโดรเจนเปอรืออกไซด์(hydrogen peroxide) ซึ่งเป็นสารฟอกสีผมและฆ่าเชื้อโรค จึงมีฤทธิ์ในการทำลายเส้นผมกัดสีผมและหนังศีรษะ ก่อให้เกิดอาการอักเสบและระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ตลอดจนทำให้เส้นผมเสียหาย
ขอบคุณที่มาของภาพ http://welcomeqatar.com/wp-content/uploads/2015/11/Hydrogen-Peroxide.jpg

2.สารฟีนิลินไดอะมี(p-phenylenediamine) หรือสีย้อมผมชนิดถาวรนั้นเป็นสารเคมีอันตราย เมื่อดูดซึมเข้าสู่หนังศีรษะแล้ว อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง และหากสะสมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหนังศีรษะได้

3.แอมโมเนีย(Ammonia) ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีย้อมผมติดผมนั้น ขณะเดียวกันสารดังกล่าวยังมีฤทธิ์เป็นกรดและด่าง ที่สามารถกัดเส้นผมและหนังศีรษะได้ จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้ผมเสียผมร่วง และทำให้รากผมอ่อนแอลง 
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://ecx.images-amazon.com/images/I/415A4oevmVL._SY300_.jpg

4.สารซิลเวอร์ไนเตรต (Silver nitrate) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการปกปิดผมขาว โดยตัวสารนี้เมื่ออยู่บนหนังศีรษะ จะทำปฏิกิริยากับอากาศแล้วเปลี่ยนให้เส้นผมกลายเป็นสีดำ ซึ่งสารตัวดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดการระคาย หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ 
  ขอบคุณที่มาของภาพ : http://www.saltlakemetals.com/images/Silver_Nitrate_50gPouredOut.jpg

5.เลดอะซีเตด(Lead Acetate) ซึ่งเป็นสารตะกั่วที่ใช้ในครีมปกปิดผมขาว ชนิดที่ไม่ต้องล้างออก เช่นเดียวกับสารซิลเวอร์ไนเตรต และเนื่องจากสารตะกั่วนี้มีคุณสมบัติคล้ายกับสารตะกั่วที่ผสมในน้ำมันในอดีต ดังนั้นหากสะสมในร่างกาย อาจทำลายสมองและประสาทสัมผัสได้ ที่สำคัญสารนี้ยังจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://3.imimg.com/data3/DX/GW/MY-838314/lead-acetate-500x500.jpg

ย้อมสีผม เกิน 9 ครั้งต่อปี เสี่ยงมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง เต้านม กระเพาะปัสสาวะ

       นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า น้ำยาย้อมผมแบบถาวร ซึ่งใช้สารเคมีล้วนๆ มาฟอกเม็ดสีผมเดิมออกแล้วใส่สารเคมีที่ทำให้เกิดสีใหม่ลงไป เป็นประเภทได้รับความนิยมใช้มากที่สุด แต่น้ำยาย้อมสีผมประเภทนี้ ทำให้หนังศีรษะดูดซึมเอาสารเคมีไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ จนมีอาการระคายเคืองน้อยถึงมาก ซึ่งหลายคนมักคิดว่าการย้อมผมเสี่ยงเฉพาะผิวหนังศีรษะอักเสบและมะเร็งหนังศีรษะ
       ทั้งนี้ ผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาทบทวนรายงานทางการแพทย์จำนวน 79 รายงานทั่วโลกในปี 2548 พบว่าการใช้ยาย้อมผม เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งระบบเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดนอนฮอดจ์กิน 1.15 เท่า มะเร็งเต้านม 1.06 เท่า และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 1.01 เท่า โดยเฉพาะการใช้สารเคมีย้อมผมก่อนปี 2523 เพราะน้ำยาย้อมผมยุคนั้น มีส่วนผสมของสารพิษต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่สารดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ย้อมผมปัจจุบัน
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000011779601.JPEG
ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ผู้ที่ยังไม่เคยย้อมผมไม่ควรย้อมสีผม โดยเฉพาะคนที่ผมบางหรือผมน้อยอยู่แล้ว เพราะการย้อมผม ทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมหลุดล่วงได้ง่าย ส่วนคนที่เคยย้อมอยู่แล้ว ก็ไม่ควรย้อมเกิน 9 ครั้งต่อปี เพราะอาจทำให้สารเคมีเข้าไปสะสมในร่างกาย

ตัวอย่างอาการพิษ

หรือความผิดปกติในร่างกายที่เกิดจากสารเคมีในเครื่องสำอาง พวกแชมพู น้ำยาย้อมผม น้ำยากัดสีผม น้ำยาโกรกผม น้ำยาดัดผม ยาทาเล็บ ลิปสติก โดยเฉพาะผู้ที่ชอบทำสีผมเปลี่ยนสีผมเป็นประจำ ได้แก่
- ขอบตาคล้ำดำ
- ท้องอืด แน่นเฟ้อ อาหารไม่ค่อยย่อย
- ปวดใต้เข่า ปวดน่อง ร้าวไปถึงฝ่าเท้าและส้นเท้า หรือเจ็บตึงส้นเท้า ขาไม่มีแรง
- ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย
- ตับวาย หรือมะเร็งตับ และไตวาย จากพิษที่เข้าไปสะสม
- อาการแสบคัน ปวดแสบปวดร้อนที่หนังศีรษะ ผมร่วง
- หนังศีรษะไหม้คล้ำดำ ลอกเป็นขุย เป็นรังแค
- อาการแสบคันในจมูก น้ำตาไหล และโพรงจมูกอักเสบ จากการสูดดมหรือได้รับกลิ่นสารเคมีในเครื่องสำอาง
- ง่วงนอนบ่อย หาวนอน หลับง่ายแม้ในเวลาที่ไม่ใช่เวลาพักผ่อนตามปกติ
- มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งที่อวัยวะที่โดนสารเคมีในเครื่องสำอางหรือยาย้อมผมที่เป็นเคมี เป็นต้น

ยาย้อมผมทำแบบนี้ปลอดภัยกว่า

1. หากผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผม เป็นแบบมีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ก็ไม่ควรมีความเข้มข้นเกินกว่า 6%
2. ลองเลือกผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมที่ไม่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย
3. ทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง
4. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเป็นหลักก็เป็นตัวเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมสวยๆ ของเราระหว่างการทำสี และยังช่วยได้ลดภาระ-ความเสี่ยง จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นเคมี 100% ลงได้
5. เว้นระยะห่างในการทำสีผม และอาจใช้สมุนไพรเป็นตัวช่วยในการล้างพิษจากสารเคมีบนหนังศีรษะบ้างหลังการทำสี 

      มาถึงตอนนี้คงมีผู้อ่านหลายท่านเริ่มหวั่นวิตกแล้วว่า เราจะย้อมผมดีไหม หรือบางท่านอาจจะคิดว่าแล้วไง เริ่ดๆ เชิ่ดๆ ฉันไม่สน ฉันชอบแฟชั่นและพร้อมจะเสี่ยง อันนี้ก็ต้องแล้วแต่คนนะคะ ความคิดใคร ความคิดมันค่ะ สำหรับเจ้าของบล็อกเองก็เคยย้อมผมนะคะ ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยมาก็ลองทำมาแทบจะทุกทรงแล้วค่ะ รู้นะว่ามันอันตรายแต่ก็พยายามเลือกอันที่สารเคมีน้อยๆ แล้วตัวเจ้าของบล็อกเองก็ไม่ได้ย้อมผมบ่อย 1 ปี ย้อมไม่เคยเกิน 3 ครั้ง เหตุผลที่ย้อมก็เพราะอยากลอง อยากทันสมัย และคิดว่าพอทำงานอาจจะมีบุคลิกที่หน้าเชื่อถือมากขึ้นทำอะไรตามแฟชั่นเหมือนเด็กๆคงไม่ได้ เพราสายงานที่กำลังเรียนอยู่ค่อนข้างมีกฎเกณฑ์ค่ะ ยังไงก็แล้วแต่นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของเจ้าของบล็อก ข้อฝากข้อคิดไว้ 1 ข้อนะคะว่า “ความสวยงามกับมนุษย์เป็นของคู่กัน ถ้าหากสิ่งสวยงามบางอย่างต้องแลกกับเวลาชีวิตที่น้อยลง ลองถามตัวเองดู...ว่าคุ้มหรือไม่?

ข้อมูลอ้างอิง
1)  http://health.kapook.com/view27833.html : หมวดสุขภาพเว็บกระปุก
2) http://www.smithnjohn.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A1.html : สมิธและจอห์น ธรรมชาติบำบัดผสานนาโนเทคโนโลยี
3) http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=59 : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 5 พ.ศ. 2533 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. หน้าที่ 19-22.
4)  http://health.mthai.com/health-news/12458.html : ข่าวสุขภาพเว็บนี้นำข้อมูลมาจากhttp://news.thaipbs.or.th
5)  http://zandjurich.blogspot.com/2010/01/blog-post_23.html : ข้อมูลจาก หนังสือ กินเป็นลืมป่วย
6)  http://thearokaya.co.th/web/?p=3462 : ดิ อโรคยา หมอแดง

ชื่อสารเคมีในภาษาอังกฤษ
4)  http://thaimed-spa.net/th/index.php?option=com_content&task=view&id=101&Itemid=1 : สารซิลเวอร์ไนเตรต
5)  http://dict.longdo.com/search/*acetate* : เลดอะซีเตด

เรียบเรียงโดย : สุชานันท์  พวงมาลี







5 ความคิดเห็น:

  1. พออ่านไปเรื่อยๆก็ได้รับความรู้ไม่น้อยเลยนะคะ นี้ก็กำลังคิดจะไปย้อมผมเหมือนกันค่ะ เริ่มคิดหนักเบย55 แต่คงต้องลองย้อมดู ขอบคุณสำหรับความรู้ วิธีการสังเกต และวิธีการป้องกันต่างๆ รูปภาพประสร้างความเข้าใจมากเลยค่ะ ส่วนตัวชอบมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความนี้ก็คือตระหนักถึงอัตรายจากการย้อมผม รู้สึกกลัวเมื่อเห็นรูปมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในบทความที่เจ้าของบล็อคได้เอาลงไว้ พออ่านแล้วก็รู้สึกคิดหนักในการย้อมผม เพราะส่วนตัวแล้วก็เป็นคนชอบย้อมผม คนรอบข้างก็ยอมผมบ่อยเหมือนกัน แล้วพอได้อ่านและได้เห็นภาพแล้วก็คิดหนักพอสมควร

    ตอบลบ
  3. เป็นบทความที่ดีมากค่ะ พอดีว่าช่วงนี้กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการย้อมสีผมอยู่พอดี แล้วมาเจอบทความนี้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผลิตภัณฑ์การย้อมสีผมที่ครอบคลุมมากที่สุด และยังได้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการย้อมสีผมด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  4. อ่านแล้วได้ข้อคิดคิดจากการอยากทำสีผมมากเลย เป็นข้อมูลที่ดีที่เรารู้แล้วควรใชให้ถูกต้อง เพื่อที่จะรู้โทษได้มากขึ้น จะใช้ให้ถูกและระมัดระวังค่ะ ขอบคุณข้อมูลดีๆ

    ตอบลบ