แบบฝึกหัด1

แบบฝึกหัด บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่
แบบฝึกหัดบทที่ 1 (กิจกรรม1) กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุลนางสาว สุชานันท์ พวงมาลี รหัส 57010310677

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ

1. ข้อมูลหมายถึง
ตอบ(data)ข้อเท็จจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอ ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ที่เราสนใจ ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล เป็น การเริ่มต้นในการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดี จะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร การใช้เครื่องวัดต่าง ๆ การใช้ดาวเทียม การออกแบบสอบถาม ฯลฯ

ที่มา : http://neung.kaengkhoi.ac.th/mdata/salupkadata3.html

2. ข้อมูลปฐมภูมิคือ
ตอบสารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ และ ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะของ สิ่งพิมพ์เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่างๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่น สารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ยกตัวอย่างประกอบ

-ข้อมูลนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้จากการตอบแบบสอบถามเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

-ข้อมูลสินค้าที่ได้จากการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดของร้านสะดวกซื้อ7-11

-ข้อบัตรเอทีเอ็มธนาคารทหารไทยที่ได้จากเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

-ข้อมูลสำรวจน้ำหนักของเพื่อนนิสิตในสาขาเครื่องกล

- ข้อมูลจำนวนสัตว์ป่าที่เสียชีวิตบนถนนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

3. ข้อมูลทุติยภูมิคือ
ตอบสารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ ดรรชนีและสาระสังเขป

ยกตัวอย่างประกอบ

-รายงานประจำเดือนของธนาคารทหารไทย

-สถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงหยุดยาวปีใหม่แต่ละปี

-รายได้ในแต่ละปีของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย จำกัด

- สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคHIVในวัยรุ่นภาคเหนือ

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

4. สารสนเทศหมายถึง
ตอบข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ

ตอบการจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกออกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บ ดังนี้ คือ

1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ และ ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่น ลักษณะของสิ่งพิมพ์เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่างๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่น สารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา เช่น บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์

2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ
ตอบ ข้อมูล

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
ตอบ สารสนเทศ

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
ตอบ ข้อมูล

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

9. ผลของการลงทะเบียนเป็น
ตอบ สารสนเทศ

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008

10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Sectionวันอังคารเป็น
ตอบ สารสนเทศ

ที่มา : หนังสือประกอบการสอนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026008



เขียนเมื่อ : วันที่ 17 มิถุนายน 2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น