ขอบคุณที่มาของภาพ : http://www.thaicabincrew.com/mainwebsite_html/graphic/staroftcc/royalsky/17nov12/2.jpg
สวัสดีท่านผู้อ่านมิตรแฟนบล็อกทุกท่าน หวังว่าจะมีคนอ่านบ้าง
เพราะพึ่งเปิดบล็อกมาได้ไม่กี่วัน และบทความนี้เราจะมาพูดถึง
อาชีพในฝันของหนุ่มสาวในยุคนี้รวมถึงเจ้าของบล็อกด้วย นั้นก็คือ...“นักบิน”
ทุกวันนี้ก็มีคนถามนะคะว่า อยากเป็นนักบิน ทำไม่ไปเรียนให้ตรงสายเลย
ตัวเจ้าของบล็อกเคยอ่านเรื่องของรุ่นพี่นักบินคนหนึ่งค่ะ
ว่าเค้าจบวิศวะและไปสอบเป็นนักบินเอง ซึ่งการจะเป็นนักบินนั้นในปัจจุบันจบปริญญาตรีจากสาขาไหนมาก็ได้ค่ะ
ดังนั้นเจ้าของบล็อกจึงเลือกที่จะเรียนปริญญาตรีวิศวะก่อนค่ะ
เพราะชอบเรื่องเครื่องยนต์กลไก และค่อยไปสอบเป็นนักบินหลังเรียนจบ
เอาละนอกเรื่องกันมาเยอะแล้ว เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ
วันนี้เจ้าของบล็อกจะมาแบ่งปัน นิยาม “การเป็นนักบิน”
ให้คนที่มีฝันร่วมกันได้อ่านนะคะ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนา
เมื่อโลกเริ่มมีเครื่องบิน ไทยก็ได้พยายามให้ มีบ้าง ในปี พ.ศ. 2454
ได้มีผู้นำเอาเครื่องบินแบบ ออร์วิลล์ ไรท์ มาบินแสดงให้ประชาชนชม
ที่สนามม้าสระปทุม (ปัจจุบันเป็นราชกรีฑาสโมสร) พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ
ผู้ซึ่งได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบรรพบุรุษของกองทัพอากาศ นักบินคนแรกของไทย
ก็ได้ทดลองบินในการแสดงครั้งนี้ด้วย
เครื่องบินแบบเออร์วิลล์
ไรท์ บินแสดงครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2454
ขอบคุณที่มาของภาพ
: http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures1/l1-234a.jpg
เมื่อ
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
กองทัพอากาศก็ได้สร้างเครื่องบินปีกชั้นเดียวขึ้นใช้เองอีกคำรบหนึ่ง
ทางด้านขนส่ง
ไทยริเริ่มทดลองใช้เครื่องบินเบรเกต์ ส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ. 2462 3 ปีต่อมา
การบินรับส่งผู้โดยสารและพัสดุ ก็เริ่มขึ้น การสงครามเป็นอุปสรรคให้เกิดการขาดแคลน
อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ไประยะหนึ่ง
แต่แล้วกระทรวงคมนาคมก็ได้ลงทุนจัดตั้งบริษัทเดินอากาศไทยขึ้น
เพื่อบริการประชาชนในการขนส่งทางอากาศทั่วประเทศ โดยใช้เครื่องบินไอพ่น
สองเครื่องยนต์ แบบแอฟโร 748 (avro 748) ต่อมาได้นำเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงขึ้นเข้ามาใช้
เช่นเครื่องบินแบบโบอิง ๗๓๗ (boeing 737) และเครื่องบินสำหรับบริการผู้โดยสารตามเส้นทางย่อย
(shorts 330) ส่วนการบินระหว่างประเทศนั้น
ขณะนี้บริษัทการบินไทย จำกัด มีเครื่องบินไอพ่น สี่เครื่องยนต์
บริการไปประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในทวีปเอเซีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ
เครื่องบินโดยสารพลเรือน
ของบริษัทการบินไทย จำกัด
ขอบคุณที่มาของภาพ
: http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures1/l1-237b.jpg
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://www.rmutphysics.com/charud/video/1/flight/1.jpg
เมื่อ 70-80
ปีก่อนไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ นายเลื่อน พงษ์โสภณ ผู้มีฉายาว่า “เลื่อนกระดูกเหล็ก” นายเลื่อนเป็นคนเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนฉายา เลื่อนกระดูกเหล็ก”
ก็เพราะเป็นนักบิดมอเตอร์ไซค์ชั้นแนวหน้าของยุค
มีการประลองความเร็วกันเมื่อใด
นายเลื่อนจะนำฮาร์เลย์เดวิดสันคู่ชีพลงชิงชัยด้วยทุกที
และชนะทุกครั้งจนถ้วยเต็มบ้าน เพราะบิดอย่างไม่กลัวเจ็บกลัวตาย แต่นายเลื่อนไปเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก
เมื่อสงครามสงบ ทางราชการให้ทหารอาสาที่สนใจเครื่องยนต์เรียนต่อที่ฝรั่งเศสได้
นายเลื่อน ฉวยโอกาสนี้ และสอบคัดเลือกได้เป็นอันดับ 1 เข้าเรียนจนจบหลักสูตร นายเลื่อนได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์ รัชกาลที่ 7
ให้ไปเรียนวิชาการบินที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี มื่อนายเลื่อนกลับมา
ไทยเรามีกรมอากาศยานแล้ว ในสังกัดกองทัพบก และซื่อเครื่องบินจากฝรั่งเศสมา 8
เครื่อง พร้อมส่งนักบินไปฝึกกับบริษัทผู้จำหน่ายมาครบจำนวน
อีกทั้งนายเลื่อนไม่ได้รับความเชื่อถือ จึงหางานนักบินทำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้นายเลื่อนจึงหาทางโชว์ฝีมือให้ประจักษ์สักครั้ง
นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ขอนำ“นางสาวสยาม”
บินเบิกฟ้าจากสยามไปฮ่องกง อกจากสนามบินดอนเมือง วันที่ 19 มิถุนายน
พ.ศ. 2475แวะไปตลอดทางตั้งแต่นครราชสีมาเป็นครั้งแรก ผ่านเวียดนาม จีน
ถึงฮ่องกงในวันที่ 23 มิถุนายน ค้าง 3 คืนแล้วบินกลับในเส้นทางเดิม
กลับมาถึงดอนเมืองในวันที่ 3 กรกฎาคม ความสำเร็จของนายเลื่อน
ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยฟุ้งกระจายไปในนานาประเทศ แม้จะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ
ยังไม่มีแม้แต่กองทัพอากาศ
แต่นักบินพลเรือนคนหนึ่งก็อาจหาญบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปอย่างโดยเดี่ยว จนประสบความสำเร็จจึงถือได้ว่า
“นางสาวสยาม” เป็นเครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทย
และนายเลื่อน พงษ์โสภณ
ก็เป็นนักบินพลเรือนคนแรกของไทยด้วยต่อมานายเลื่อนเข้าทำงานกับบริษัท เดินอากาศ
จำกัด ไปเป็นนายสนามบินโคราช จนได้รับเลือกตั้งเป็น
ส.ส. โคราช 4 สมัย เป็นรัฐมนตรี ลอยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมถึง 6
รัฐบาล และได้รับพระราชทานยศเป็น นาวาอากาศเอก.
เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทย “นางสาวสยาม”
ขอบคุณที่มาของภาพ
: http://haab.catholic.or.th/PhotoGallery/photos/frist5/1OEOCEAOA.jpg
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://aviationclub.s3.amazonaws.com/cache/de/f2/def23976b22a56604d71045c9cf7a66a.jpg
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้
ได้แก่ผู้ขับเครื่องบิน ผู้ควบคุมการบิน
ในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ไปรษณีย์ภัณฑ์หรือสินค้า การขับเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นทดสอบ ส่งมอบ
ฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาป้องกันแมลง สำรวจทางอากาศ ถ่ายภาพทางอากาศ และสอนนักบินฝึกหัดการควบคุมเส้นทางบินของการบิน
การดูแลเครื่องบินระหว่างทำการบิน และให้คำแนะนำ นักบินอื่นๆ
เกี่ยวกับการบินและเส้นทางการบิน
เป้าหมายของงาน / โจทย์ใหญ่ของงาน /ความท้าทายของงาน
อาชีพนักบิน
เป็นอาชีพพิเศษแตกต่างจากอาชีพอื่นคือ การใช้กระบวนการคิดและทักษะทำงานภายใต้ภาวะความกดดันทั้งเรื่องเวลา
ความเสี่ยง และสภาพแวดล้อมที่ทำงานอยู่บนอากาศ
รวมถึงความปลอดภัยต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
นักบินจะต้องมีทักษะและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและปลอดภัย
เป้าหมายของงานคือการนำส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
โดยต้องคำนึงถึงชีวิตของผู้โดยสารเป็นอันดับแรก
หากเกิดปัญหาขึ้น ต้องรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
อย่างกรณีที่เกิดปัญหาทางด้านสภาพภูมิอากาศไม่สามารถลงจอดได้เราต้องนำเครื่องขึ้นใหม่
แล้วบินวนรอจนกว่าสภาพอากาศจะดีพอให้ลงจอดอีกครั้ง
เคยเจอกรณีมีผู้โดยสารป่วยในระหว่างการบิน
ซึ่งต้องการความช่วยเหลือของแพทย์อย่างเร่งด่วน เราอาจจะรีบลงกลางทาง
เพื่อให้ผู้โดยสารที่ป่วยได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด
Work process
1.กำหนดตารางการบินในแต่ละเดือนว่าเราจะบินที่ไหนบ้าง
เวลาใดบ้าง
2.ตรวจสภาพเครื่อง
ทั้งภายนอกและภายในของเครื่องบิน ว่าพร้อมที่จะบินหรือไม่
3.เตรียมพร้อมที่จะบินรวมทั้งเริ่มติดต่อกับหน่วยควบคุมการบินทั้งในและต่างประเทศ
4.บินตามแผนการเดินทางที่เราได้วางไว้จนถึงจุดหมายปลายทาง
5.ขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ไปรษณีย์ภัณฑ์ หรือสินค้า
6.ควบคุมอากาศยานให้อยู่ในเส้นทาง
ซึ่งทำการบินประจำ หรือในเที่ยวบินเช่าเหมา
7.สังเกตเครื่องวัดมิเตอร์
และเครื่องวัดประกอบการบินอื่นๆ ที่ใช้ควบคุมอากาศยาน
8.ตรวจความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์
ใช้เครื่องช่วยในการเดินอากาศสำหรับควบคุมเส้นทางบินของอากาศยาน
อาจเป็นผู้ควบคุมอากาศยาน
และรับผิดชอบในลูกเรือทั้งหมด หรือเป็นนักบินผู้ช่วย
และอาจทำการบินภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมอากาศยาน
แล้วแต่ว่าเราต้องออกเดินทางกี่โมง
มีระยะทางในการบินเท่าไรใช้เวลากี่ชั่วโมง ถ้าเป็นระยะทางที่ไกลต้องใช้เวลานาน
ก็จะมีการผลัดเปลี่ยนเวรกันไปพัก เมื่อถึงที่หมายแล้วก็จะได้ไปพักหรือเที่ยวบ้าง
ก็จะแล้วแต่คน ส่วนใหญ่จะได้พักหนึ่งคืนที่ประเทศนั้นๆแล้วจึงบินกลับ
ขอบคุณที่มาของภาพ : http://newsthump.com/wp-content/uploads/2014/08/women-pilots.jpg
เนื่องจากนักบินเป็นผู้ขับเครื่องบินให้ไปสู่จุดหมายปลายทางของผู้โดยสารหรือสินค้าที่อยู่ในเครื่องบินซึ่งจะไปถึงที่หมายปลายทางได้หรือไม่นั้น
นักบินจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ฉะนั้น
ผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ จึงควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
2.
ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดี ควรมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ดีพอสมควร เพื่อใช้ในการศึกษา และใช้ในการปฏิบัติงาน
3.
รูปร่าง บุคลิกดี มีความสูงไม่น้อยกว่า 165 ซ.ม. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
มีปฏิภาณไหวพริบดี มีสำนึกในความปลอดภัย และมีความสามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่นสูง มีความกล้าหาญ
และมีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
5.
มีความมั่นใจในตนเอง ละเอียดรอบคอบ มีความจำดี ช่างสังเกต
6.
สายตาสั้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด และต้องไม่ตาบอดสี
7.
ในการสอบสัมภาษณ์มีทั้งการสอบภาษาไทย และสอบเชาว์ปัญญา ( Aptitude Test) และอาจมีการสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
ผู้สมัครควรมีความรู้ภาษาอังกฤษดี และมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
8.
ในการขับเครื่องบิน ต้องได้รับใบอนุญาตการบิน ( Pilot License) รวมทั้งต้องผ่านการตรวจ
ร่างกาย และทดสอบทางจิตเวชจากสถาบันเวชศาสตร์การบิน
ผู้ประกอบอาชีพนี้นอกจากจะมีคุณสมบัติ
ดังที่กล่าวมาแล้ว ควรเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียน
หลังจากผ่านการสอบคัดเลือกตำแหน่งตามเงื่อนไข
คือจะถูกส่งเข้าศึกษาต่อหลักสูตรการบิน ในโรงเรียนการบินต่างๆ เช่น
วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อเริ่มต้นเรียนการบิน
จะฝึกบินกันที่สนามบินนครพนม เนื่องจากเป็นสนามบินที่มีการจราจรทางอากาศไม่คับคั่ง
สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ เหมาะสำหรับการฝึกบิน โดยมีหลักสูตรดังนี้
1.หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี
- เครื่องบิน (Commercial Pilot
Licence - Aeroplane)
ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ
58 สัปดาห์ ทำการฝึกอบรมให้ศิษย์การบินมีความรู้ความสามารถในการบินกับเครื่องบินจนเข้ามาตรฐานได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี
ตามที่กรมการบินพลเรือนกำหนดไว้ ศิษย์การบินที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้
จะได้รับใบประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์ตรี จากนั้นจึงทำการสอบขอใบอนุญาต "
นักบินพาณิชย์ตรี" พร้อมวุฒิการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน
และเครื่องบินหลายเครื่องยนต์จากกรมกรมการบินพลเรือน
2.หลักสูตรวิชานักบินส่วนบุคคล
( Private Pilot Licence)
3.
หลักสูตรเพิ่มศักย์การบินต่างๆ ได้แก่
3.1
หลักสูตรการบินหลายเครื่องยนต์(Multi
Engine Rating)
3.2
หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Rating)
3.3
หลักสูตรครูการบิน (Flight
Instructor Rating)
3.4 Multi Crew Cooperation (MCC) and Jet
Orientation Training (JOT)
เนื่องจากวิทยาลัยการบินนานาชาติ
เป็นโรงเรียนการบินของรัฐบาล 100 % ค่าใช้จ่ายในการเรียนจึงต่ำกว่าโรงเรียนการบินอื่นๆ
อีกทั้งยังมีบริการที่พัก อาหาร บริการรถรับ - ส่ง
และเอกสารตำราเรียนที่เป็นลิขสิทธิ์แท้
ไว้สำหรับบริการศิษย์การบินของวิทยาลัยการบินนานาชาติทุกคน
อาชีพนักบินสามารถรับราชการเป็นนักบินของหน่วยราชการต่างๆ
เช่น กองบินสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร
หรือสายการบินเอกชนต่างๆ เช่น บริษัทการบินไทย บริษัทบางกอกแอร์เวย์
ซึ่งยังมีความต้องการพนักงานในตำแหน่งนี้ยังมีมากแต่การคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม
รวมทั้งการสอน และอบรมในการบินสามารถรับได้ครั้งไม่มากจึงจัดว่าเป็นอาชีพที่ขาดแคลน
สถาบันที่จะฝึกนักบินในประเทศไทยนั้นมีจำนวนน้อยมาก
และส่วนใหญ่จะฝึกให้หน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในหน่วยงานของตนเอง
แต่ถ้าหน่วยงานใดองค์การใดที่ต้องการนักบิน
และไม่สามารถที่จะฝึกอบรมด้วยตนเองได้ก็จะส่งบุคคลในหน่วยงานของตนนั้นมาทำการฝึกอบรมการบินที่โรงเรียนการบินต่างๆในประเทศไทย
ฉะนั้นผู้ที่จบการศึกษาแล้ว
ส่วนใหญ่จึงกลับเข้าทำงานในหน่วยงานเดิมของตนที่ส่งมาฝึกอบรม
แต่ถ้าเป็นศิษย์การบินที่เรียนโดยทุนส่วนตัว
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็จะทำงานเป็นนักบินในบริษัทสายการบินต่างๆ
ซึ่งจะได้รับเงินเดือนสูงมากผู้ที่ประกอบอาชีพนักบินมักจะเป็นชาย
ในปัจจุบันประเทศไทยมีนักบินอาชีพที่เป็น ผู้หญิงทำงานในบริษัท บางกอกแอร์เวย์
แอร์เอเชียและบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย แต่สำหรับบริษัทการบินไทย
ยังไม่มีนักบินอาชีพที่เป็นผู้หญิง
ผู้ที่ประกอบอาชีพนักบินสามารถเข้าสมัครงานในภาคราชการหรือภาคเอกชนที่ประกาศรับสมัครโดยต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้
และเมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วจะต้องเข้ารับการอบรมการบินตามโรงเรียนการบินในประเทศไทย
ตามที่หน่วยงานของตนจะกำหนด
โดยเมื่อจบการอบรมก็จะได้รับบรรจุเข้าเป็นนักบินประจำหน่วยงานนั้น
ยกเว้นนักบินของกองทัพอากาศ
ซึ่งจะต้องเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศและสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศซึ่งจะมีหลักสูตรการบินที่เกี่ยวกับการทหารไม่ใช่การบินเชิงพาณิชย์สำหรับนักบินทั่วไป
เมื่อจบหลักสูตรจึงจะได้บรรจุเป็นทหารสัญญาบัตรเหล่านักบิน และได้รับการบรรจุเข้าประจำฝูงบินต่างๆ
หรือบรรจุเข้ารับราชการตามกรมกองต่างๆ
ขอบคุณที่มาของภาพ :
สถานที่ทำงาน
พี่เชื่อว่าห้องทำงานของพี่
น่าจะเป็นหนึ่งในห้องทำงานที่เล็กที่สุด ที่จะต้องใช้ชีวิตในนั้นตลอดเวลาการทำงาน
เรียกได้ว่าทุกๆเหตุการณ์และอารมณ์ที่เกิดขึ้น จะอยู่ภายในห้องทำงานนี้ทั้งหมด
ซึ่งจะประกอบไปด้วยที่นั่งนักบินซ้ายและขวา และมีที่นั่งสำรองอีกสองที่ด้านหลัง
ส่วนด้านหน้าของเครื่องบินจะมีหน้าปัดหรือ Monitor และปุ่มควบคุมต่างๆของเครื่องบิน
ปุ่มบังคับอัตโนมัติต่างๆจะอยู่ด้านหน้าทั้งหมดรวมถึงระบบต่างๆของเครื่องบินอีกด้วย
สภาพการทำงาน
เนื่องจากเราผ่านการฝึกมาอย่างดี
ในเรื่องของระบบควบคุมการบินต่างๆ
และเรื่องการมีสติในการทำงานจึงไม่ตื่นเต้นหรือกดดัน
แต่เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
เราจะมีระบบรุ่นพี่รุ่นน้องและการเคารพกันค่อนข้างมาก
เพราะมีการเรียนและทดสอบทางด้านการบินมาด้วยกัน
และต้องมีการเวียนทำงานกับนักบินหลายๆคน
แล้วแต่ว่าเรามีคิวที่ต้องทำงานคู่กับใคร จึงต้องเป็นคนที่ทำงานร่วมกับทุกคนได้
ประเภทของลูกค้า
ลูกค้าจะคือทุกคนที่ต้องการเดินทางในการโดยสารเครื่องบินไปยังที่ต่างๆ
ซึ่งจะสามารถแบ่งระดับชั้นความสะดวกสบายที่แตกต่างกัน โดยทั่วไป สายการบินจะมี
การจัดชั้นที่นั่งบนเครื่องบินออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.ชั้นหนึ่ง (First
class) เป็นชั้นที่มีบริการพิเศษสุด มีที่นั่งกว้างมากและสามารถปรับเอนได้ที่นั่งส่วนใหญ่อยู่หลังห้องนักบิน
เป็นเพราะพื้นที่บริเวณนี้ค่อนข้างกว้างและเป็นส่วนตัว ไม่มีผู้โดยสารชั้นอื่น
เดินผ่าน ที่นั่งส่วนนี้ จึงสะดวกสบาย เงียบ และไม่พลุกพล่าน มีอาหารชนิดพิเศษ
เหล้า ไวน์ นอกจากนั้นยังมีสิ่งบันเทิงอีกมากมายให้บริการ
อีกทั้งสามารถนำสัมภาระติดตัวได้มาก โดยลูกค้าในชั้นนี้จะเป็นระดับ
ผู้บริหารชั้นสูง ไฮโซ นักการเมือง หรือ
ผู้ที่มีฐานะทางการเงินที่ดีเพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
2.ชั้นธุรกิจ (Business
class) เป็นชั้นที่มีการบริการพิเศษรองลงมาจากชั้นหนึ่ง มีอาหารพิเศษรองจากชั้นหนึ่ง
และอีกหลากหลายอย่างที่รองจากชั้นหนึ่ง
แต่มีเครื่องดื่มคล้ายยกับชั้นหนึ่งที่นั่งชั้นธุรกิจ
โดยทั่วไปอยู่ต่อจากที่นั่งชั้นหนึ่ง และอยู่ด้านหน้าของที่นั่งชั้นประหยัด
อีกทั้งสามารถนำสัมภาระติดตัวได้มาก
3.ชั้นประหยัด (Economy
class) เป็นชั้นที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่นิยมใช้บริการกันที่นั่งชั้นประหยัด
โดยทั่วไปเริ่มตั้งแต่ส่วนกลางของเครื่องบิน (ส่วนปีก) จนถึงส่วนท้าย
(หางเครื่องบิน) จำนวนที่นั่งมีมากที่สุด ตัวเก้าอี้นั่งไม่สามารถจะปรับนอนราบได้
มีบริการอาหารและเครื่องดื่มธรรมดาฟรี ซึ่งลูกค้าในชั้นนี้จะเป็นระดับคนธรรมดาที่มีรายได้ปานกลางจนถึงน้อย
ขอบคุณที่มาของภาพ : https://pbs.twimg.com/media/CR0LpL9VAAAwlhn.jpg
อาชีพนักบินจำเป็นต้องมีทั้งความเป็นผู้นำและต้องรู้จักการทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นเพราะเครื่องบินโดยสารหนึ่งลำ
มีผู้ร่วมงานที่เป็นนักบินด้วยกัน พนักงานต้อนรับบนเครื่องรวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้ภารกิจ
การบินนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
นักบินจึงควรมีบุคลิกภาพที่ต้องมีความรู้จริงในอาชีพ
มีทักษะการติดต่อสื่อสารดีเยี่ยม
รู้จักฟังผู้อื่นหรือเป็นผู้ฟังที่ดียอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความขยันหมั่นเพียร
มีความกระตือรือร้นมีภาพลักษณ์ที่ดี ตรงต่อเวลา มีความอดทน
รวมถึงต้องรู้จักอ่อนตัวที่จะปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์รู้จักแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเด็ดขาดเพื่อให้การทำงานร่วมกับเพื่ออื่นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ผลตอบแทน
อาชีพนักบินเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความน่าสนใจมาก
เพราะในปัจจุบันด้านการบินกำลังเคลื่อนตัวไปได้ดีและก็มีการแข่งขันกันสูงขึ้น
เรื่องเงินเดือนจะค่อนข้างสูงเพราะต้องมีความเสี่ยงเรื่องของการรักษาชีวิตผู้โดยสาร ตอนนี้พี่เป็นกัปตัน
มีรายได้ตกประมาณเดือนละ 300,000 บาท
การทำงานของนักบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
รวมไปจนถึงผู้ที่ทำงานในวงการการบิน เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ
ช่างซ่อมบำรุง วิศวกร ต่างๆนั้น จริงๆที่พวกเขาได้ค่าตอบแทนที่สูงนั้น
เพราะต้องทำงานที่เสี่ยงภัยตลอดเวลาต้องทำงานให้มีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุดหรือจนแทบจะไม่ให้เกิดขึ้นได้เลย
ดังนั้นก็ต้องเผชิญกับความเครียดและความกดดันอยู่ตลอดเวลาและต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพื่อพร้อมทำงานอยู่ตลอดเวลา
บิน 10 ปีก็มีเงินเก็บ 25 ล้านได้สบายๆ
นี่เป็นเรื่องจริงในวงการนักบินที่ผลตอบแทนแสนจะมหาศาล
โดยนักบินจะมีทั้งเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง
ไปจนถึงสวัสดิการสุดฟินและสายการบินชั้นนำอย่างเอทิฮัดก็จ่ายหนักถึง 480,000 บาทต่อเดือน
และยิ่งใครมีใบอนุญาติครูสอนนักบินก็เอาเพิ่มไปอีก 40,000
ชิลๆในขณะที่ทางการบินไทย กัปตันจะมีรายได้ราว 280,000
ต่อเดือน
ส่วนในระบบของการบินไทยนั้น
นักบินใหม่จะได้เงิน
60,000+30,000 ค่าเบี้ยเลี้ยง
ในขณะที่โคไพลอตจะมีเพดานสูงขึ้นมาที่ 160,000-180,000 บาท
อย่างไรก็ตามเงินตรงจุดนี้ก็สู้สายการบินเอทิฮัดไม่ได้เพราะที่นั่นเค้าจ่ายหนักถึง
280,000
มากกว่าของไทยอีกเท่าตัวและนี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้วงการนักบินไทยเริ่มสั่นคลอน
เพราะใครๆก็อยากได้เงินเยอะ
การปรับเงินเดือน
หากใครติดตามข่าวช่วงก่อนจะทราบว่ามีนักบินจำนวนมากลาออก
และนั่นทำให้ทางการบินไทยพยายามปรับตัวตามเพื่อยื้อบุคลากรคุณภาพเอาไว้ด้วยการปรับเงินเดือน
โดยกัปตันอัพขึ้น 60,000
บาท ซีเนียร์โคไพลอต 45,000 บาทและจูเนียร์โคไพลอต
30,000 บาท
แต่อย่างไรก็ยังยากจะรั้งนักบินไทยฝีมือเก๋าไว้ได้
เพราะเอทิฮัดจงใจสู้ศึกยื้อแย่งนักบินจากทั่วโลกโดยการจ่ายเงินแบบหนักมาก
อาชีพนักบิน
ต้องผ่านการทดสอบหลายขั้นตอนกว่าจะก้าวมาเป็นนักบินได้
เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าคุณสามารถทำหน้าที่นี้ได้จริงๆ และต้องทำได้อย่างดีด้วย
เพราะชีวิตของผู้โดยสารทุกคนอยู่ในความดูแลของคุณตลอดการเดินทาง
ทุกคนบนเครื่องบินมีเหตุผลในการเดินทางที่ต่างกัน แต่มีคุณค่าและความหมายของตัวเอง
หลายคนออกเดินทางเพื่อตามหาความฝัน
ไปเพื่อพบกับความสุข หรือจัดการเรื่องที่รุงรังในชีวิตในตอนนี้
ไม่ว่าจะคืออะไรเราต้องทำให้พวกเขาไปให้ถึงโดยปลอดภัยให้ได้
และนี่คือคุณค่าของการเป็นอาชีพนักบิน
เครื่องมือที่สำคัญของนักบินก็คือเครื่องบิน
ซึ่งการขับเครื่องบินไม่ยากไปกว่าการขับยานพาหนะอื่นๆ
เมื่อเครื่องยนต์เดินเรียบร้อยแล้ว
นักบินจะวิทยุไปที่หอบังคับการบินเพื่อขออนุญาตขับเครื่องบินไปตั้งตัวที่ปลายทางวิ่ง
ณ ที่นี้ นักบินจะตรวจสอบทดลองการทำงานของชิ้นส่วน เครื่องวัด
และอุปกรณ์จำเป็นทุกรายการที่เขียนไว้ ในคู่มือของเครื่องบิน แบบนั้นๆ
เมื่อหอบังคับการบินพูดวิทยุอนุมัติให้ขึ้นบินได้ นักบินจะเริ่มเร่ง
เครื่องยนต์ให้เครื่องบินเคลื่อนที่ออกวิ่งทวนลม
นักบินต้องใช้มือและเท้าแตะไว้ที่คันบังคับ คอย เลี้ยงเครื่องอย่างเบาๆ
ให้เครื่องวิ่งตรงอยู่ในทาง ไม่เซไปเซมา เครื่องจะค่อยๆ เร็วขึ้น เร็วขึ้น
จนกำลังยกมากกว่าน้ำหนักเมื่อใด เครื่องบินก็จะลอยตัวขึ้นสู่อากาศ ณ
ระยะสูงที่ปลอดภัย นักบินจะเบาเครื่องเครื่องยนต์ลงตามเกณฑ์ในคู่มือ
พับฐานเก็บล้อเพื่อให้แรงต้านทานน้อยลงแล้วจะ ได้รับความเร็วเพิ่มขึ้นเองอีกด้วย
ซึ่งทักษะในการขับเครื่องบิน ที่เราได้รับการฝึกอบรมมา
เราควรจะต้องแม่นยำในเรื่องของระบบต่างๆภายในเครื่องบินเป็นอย่างดีเพื่อให้การออกบินในแต่ละครั้งดำเนินไปอย่างราบรื่น
การวัดบุคลิกภาพ
สามารถวัดได้ 7 ประการ
1. ทางกาย เช่น รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย
2. อารมณ์ เช่น การแสดงออก สดชื่น อารมณ์ขัน ร่าเริง หงุดหงิดง่าย
3. สติปัญญา เช่น ความจำ สังเกต ขีดความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสนใจ/ค่านิยม เช่น งานอดิเรก สิ่งที่นิยม ศรัทธา เลื่อมใส
5. เจตคติ (Attitude) เช่น ความรู้สึกต่อสังคม
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทางที่ดี/ไม่ดี
6. แรงจูงใจ เช่น อยากทำอะไรมาก ร่วมกับผู้อื่น
7. สังคม เช่น มนุษย์สัมพันธ์
ทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อการเป็น
นักบินพานิชย์
1. ต่อต้านกฎและระเบียบ (Anit-authority) มีทัศนคติที่เห็นว่ากฎและระเบียบต่าง
ๆ ไม่มีความสำคัญและไม่ควรยึดถือ
2. ไม่มีความรอบคอบ (Impulsivity) ปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ
โดยทันทีตามสิ่งแรกที่นึกได้โดยไม่ตริตรองหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
3. ชอบเสี่ยง (Invulnerability) มีทัศนคติที่ชอบเสี่ยงที่เพิ่มอัตราความเสี่ยงโดยมีความคิดว่าอุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นกับตัวเรา
4. ชอบแสดงออก (Macho) มีทัศนคติที่ชอบแสดงออกออกว่าเหนือกว่าผู้อื่นและทำบางสิ่งที่เสี่ยงเพื่อแสดงว่าเหนือกว่าผู้อื่น
5. ไม่รับรู้และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่กระทำ (Resignation) มีทัศนคติที่ว่าสิ่งต่าง ๆ
ที่กระทำไปไม่เกิดผลในทางบวกหรือลบอย่างมากมายทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่น สิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดเป็นเพียงความโชคดีหรือโชคร้าย
ซึ่งทัศนคตินี้จะมีผลให้เราไม่รับผิดชอบต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าดีหรือร้าย
แนวความคิดเพิ่มเติม
1. Keep calm อย่าแพ้ภัยตนเอง ข้อสอบมิได้ต้องการให้ผู้ที่ทำได้มากที่สุด (แต่ผิดเยอะ)
การทำข้อสอบคือการสะท้อนการบินคือต้องมีความแน่ใจและถูกต้อง ห้ามเดา ไม่มีใครที่ทำข้อสอบได้ทั้งหมด
เพราะฉะนั้นจงทำเท่าที่เราทำได้และแน่ใจเท่านั้น
2. ไม่มีการเตรียมการใดดีเท่ากับการทำให้สมองแจ่มใสที่สุด หัดคิดเลข
ทำตัวอย่างบ้าง หรือแนวข้อสอบที่ทำขึ้นเองบ้าง
ทั้งหมดเพื่อให้สมองได้คิดมีความหลักแหลมขึ้น (เคาะสนิมออก) แต่อย่าคาดหวังว่าจะต้องเจอตามโผ
(แต่ได้ก็ดี) และตามที่กล่าวคือทำสมองให้ clear (ซึ่งหมายถึงพยายามงดเหล้าหรือสิ่งต่าง
ๆ ที่จะทำให้สมองมึนงง)
3. ความต้องการ
3.1 Good
discipline (ต้องแสดงให้เห็น
เช่นถ้าถูกสอบถามว่าลูกหรือลูกน้องทำผิดจะทำอย่างไร
ก็ต้องบอกว่าต้องมีการลงโทษ
(good discipline !) (แต่จะลงโทษด้วยวิธีใดนั้นอีกเรื่องหนึ่งอย่า
sadist มากนักจะกลายเป็น abnormal ไป)
3.2 มีความอดทน (Guard ไม่ตก) ขยัน
และพร้อมรับรู้สิ่งใหม่ ๆ
3.3 เข้ากับคนได้ดี
คาดว่าพอพูดอ่าน อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะทำให้มีเเรงฮึดสู้อ่านหนังสือเตรียมตัวสอบมากขึ้นนะคะ อันไหนที่ยังเป็นข้อบกพร่องก็ทำการแก้ไขโดยด่วนนะคะ นี้เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับการเป็นนักบินนะคะ
ยังไงซะก็ขอให้คนที่มีฝันเดียวกันกับเจ้าของบล็อกประสบความสำเร็จสมหวังกันทุกคนค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
1) http://iac.npu.ac.th/home/article/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99
: คณะIAC มหาวิทยาลัยนครพนม
2) http://www.a-chieve.org/information/detail/10134 : แนะนำอาชีพ
3) http://www.meekhao.com/news/pilot-salary : หมีขาว มีข่าว
4) http://www.crewsociety.com/1203 : สังคมคนชอบบิน
5) http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=1&chap=8&page=t1-8-infodetail07.html
:
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6) http://haab.catholic.or.th/PhotoGallery/photos/frist5/frist5.html : หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ข้อมูลจากหนังสือ
1) A pilot ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Capt.Sopon P.
2) เตรียมตัวเป้นนักบิน เขียนโดย ภูธนภัส รุ่น AP-88 สถาบันกรบินพลเรือน
เรียบเรียงโดย : สุชานันท์ พวงมาลี
เรียบเรียงโดย : สุชานันท์ พวงมาลี